REBOUND HAMMER

(การทดสอบค่ากำลังอัดสูงสุด)

การทดสอบ Rebound hammer เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลายประเภทหนึ่ง เพื่อประเมินค่ากำลังอัดสูงสุด (Maximum Compressive Strength) หรือ ค่า fc’ ของโครงสร้างคอนกรีต โดยอาศัยหลักการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Index) ที่เกิดจากการกดกระแทกของแท่งทดสอบ (Plunger) และสปริงลงบนผิวคอนกรีตที่ต้องการจะทดสอบ ใช้ตรวจสอบความแข็งของผิวคอนกรีตที่ถูกทดสอบ ซึ่งจะถือว่าผิวหน้าของคอนกรีตนั้นเป็นตัวแทนของตัวคอนกรีตที่ใช้ทดสอบ

รูปที่ 1 ส่วนประกอบ ของ Schmidt Rebound hammer

หลักการทดสอบ

อุปกรณ์ทดสอบแรงกระแทก อุปกรณ์ทดสอบแรงกระแทก ค้อนกระแทกแบบสมิดท์มีส่วนประกอบหลักคือตัวค้อนภายนอก (Body) แท่งเหล็ก (Plunger) ก้อนเหล็ก (Hammer) สปริง (Spring) สลัก (Latch) และช่องสไลด์ที่ใช้วัดระยะสะท้อน ของก้อนเหล็ก (Indicator) ระยะสะท้อนของค้อนกระแทกวัดได้จากมาตรวัด ซึ่งติดกับค้อนโดยมีค่าตั้งแต่ 10 ถึง 100 เป็นเครื่องมือทดสอบคอนกรีตแบบไม่ทำลายซึ่งเป็นที่นิยมในการวัดกำลังอัดของคอนกรีต เนื่องจากความรวดเร็วในการทดสอบ และราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะเก็บตัวอย่างทดสอบเพื่อทำการทดสอบ ค้อนกระแทกเป็นเครื่องวัดความแข็งของผิวคอนกรีต ค่ากำลังอัดที่ได้แปลงมาจากค่าความแข็งของผิวคอนกรีต

รูปที่ 2 กราฟเทียบกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Compressive Strength กับ Rebound Number

ค่าคุณภาพของคอนกรีต

ค่า R ที่ได้จากการทดสอบค้อนกระแทกจะสามารถประเมินเทียบคุณภาพคอนกรีตได้ดังนี้

–         ค่ากระแทก R ที่ได้มากกว่า 40 – คอนกรีตแข็งแรงมาก (Very Good Hard Layer)

–         ค่ากระแทก R ที่ได้อยู่ระหว่าง 30 ถึง 40 – คอนกรีตแข็งแรง (Good Layer)

–         ค่ากระแทก R ที่ได้อยู่ระหว่าง 20 ถึง 30 – คอนกรีตเริ่มไม่แข็งแรง (Fair)

–         ค่ากระแทก R ที่ได้น้อยกว่า 20 – คอนกรีตไม่แข็งแรง (Poor Concrete)

–         ค่ากระแทก R เท่ากับ 0 – คอนกรีตไม่แข็งแรงมาก คอนกรีตไม่สามารถรับแรงได้ (Delaminated)

อุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบ

รายละเอียดอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ

1. อุปกรณ์ทดสอบ Original Schmidt Rebound Hammer Type  N

  1. ก้อนหินขัด (Abrasive Stone) เป็นก้อนหินที่มีผิวหยาบ และมีส่วนผสมของซิลิคอนคาร์ไบด์หรือวัสดุเทียบเท่าอื่นๆ ใช้สาหรับตกแต่งหน้าพื้นผิวทดสอบให้เรียบ และมีความสม่ำเสมอ

การเตรียมบริเวณผิวคอนกรีต

จะต้องเตรียมผิวคอนกรีตเพื่อให้การทดสอบที่มีคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เลือกกำหนดบริเวณที่จะทดสอบ : ตัวอย่างผิวคอนกรีตที่มีความหนาอย่างน้อย 4 นิ้ว สำหรับโครงสร้างพื้น, กำแพงและ 5 นิ้ว สำหรับส่วนที่เป็นโครงสร้างเสา หลีกเลี่ยงส่วนที่เป็นรอยต่อ และมีรูพรุนที่ผิว ควรสกัดให้เห็นเนื้อคอนกรีตจริง เพื่อให้การกระแทกของค้อนไม่ถูกผิวคอนกรีตฉาบทำให้ค่าที่ได้ผิดเพลียคาดเคลื่อนได้
  • พื้นที่ผิวทดสอบควรมีพื้นที่ระยะอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 150 มม. X 150 มม. หรือ วงกลมไม่น้อยกว่า 150 มม.
  • ระยะห่างระหว่างจุดกระแทกควรห่างไม่น้อยหว่า 25 มม. และระยะห่างจากขอบของโครงสร้างต้องไม่น้อยกว่า 50 มม. และที่สำคัญ ถ้ากระแทกจุดที่มีเป็นรอยแตก, คอนกรีตกลวง, เป็นโพรง รูพรุนควรยกเลิกค่าการอ่าน ณ จุดนั้น
  • ทดสอบกระแทก ด้วยอุปกรณ์ทดสอบแรงกระแทกเพื่ออ่านค่า การสะท้อนกลับ (ค่า R) จำนวนอย่างน้อย 10 จุดโดยแต่ละจุดต้องไม่ซ้ำตำแหน่งเดิม และไม่เกินกว่า 1 นิ้ว นำค่าทั้ง 10 ค่า มาค่าเฉลี่ย.

รูปที่ 2 พื้นที่ผิวทดสอบควรมีพื้นที่วงกลมไม่น้อยกว่า 150 มม. และอ่านค่าทดสอบอย่างน้อย 10 ค่า

รายงานผลการทดสอบ

  1. วิธีการทดสอบและตำแหน่งทดสอบ
  2. ผลค่าการอ่านค่าเฉลี่ยทดสอบ R และค่าแปรผลค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต fc’
  3. รูปภาพขณะทดสอบ

มาตรฐานอ้างอิง

[1]  ASTM  C 805

Appointment Form

ขอใบเสนอราคา

ติดต่อเรา